Last updated: 30 พ.ค. 2567 | 27037 จำนวนผู้เข้าชม |
สรุปง่ายๆ นายจ้างและลูกจ้างควรรู้
เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างกฏหมายระบุไว้ดังนี้
กฎหมายแรงงานคุ้มครองและควบคุม ขนาดน้ำหนักในงานที่ลูกจ้างต้อง ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็น วัตถุนั้นตาม เพศ อายุ ของลูกจ้าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ในมาตรา 37 ได้วางหลักกฎหมายเอาไว้ว่าห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือ เข็นของหนัก เกินอัตราน้ำหนักตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ได้กำหนดให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงานเหล่านี้ได้ ไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยดังนี้
ลูกจ้างเด็กหญิง อายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่ถึง 18 ปี ยกของหนักได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม
ลูกจ้างเด็กชาย ยกของหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัม
ลูกจ้างเพศหญิง ที่อายุเกิน 18 ปี ยกของหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัมเช่นกัน
แต่หากเป็นลูกจ้างชาย อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป สามารถยกของหนักได้ไม่เกิน 55 กิโลกรัม
ในกรณีของหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง
อุปกรณ์ทุ่นแรงที่เหมาะสมนั้น ได้แก่ รถเข็น รถยก ซึ่งในตลาดก็จะมีทั้งสินค้าราคาถูก ราคาแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของสินค้า หากแต่นายจ้าง มองการลงทุนระยะยาวโดยการซื้อของคุณภาพดี ผ่อนแรงลูกจ้างได้จริง จากการใช้งาน (มิใช่เพียงแค่ระบุในเสปคสินค้าที่ไม่มีใครรับรองว่าเป็นความจริงและสามารถทำงานได้ตามนั้น) ก็จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นได้ในระยะยาว เช่น
ลดการเมื่อยล้า ลดการลาป่วย (ลูกจ้างมีสิทธิในการลาป่วย นายจ้างต้องจ่ายค่าแรง)
เพิ่มความปลอดภัย หากต้องนำอุปกรณ์ไปใช้ในพื้นที่ลูกค้าแล้วยิ่งต้องให้ความสำคัญ
เพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการทำงาน (ลดต้นทุนความสูญเปล่า)
เพิ่มขวัญกำลังใจลูกจ้าง
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขอให้ตัดสินใจบนความจริงที่ว่า หากเป็นคนซื้อจะต้องใช้เอง จะใช้หรือไม่ เพราะนายจ้างหรือลูกจ้าง ก็ต้องการความสะดวกสบาย ใช้ของดีกันทั้งนั้น หากใช้ของดี งานอะไรๆ ก็ออกมา ดี ทั้งนั้นครับ
หากท่านมีความสงสัย สามารถติดต่อมาทางไลน์แอด หรือ fb ของทาง Happy Move ทางเราอยากช่วยให้ท่านมีความรู้เบื้องต้นในการใช้งานอุปกรณ์ ยก ย้าย เข็น ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดีกว่าเดิม